วันพุธที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

เลขที่จดแจ้งเครื่องสำอาง ทำไมต้องเพิ่มเป็น 13 หลัก?


เลขที่จดแจ้ง ทำไมต้องเพิ่มเป็น 13 หลัก?

นั่นก็เพราะ เนื่องจากปัจจุบัน เครื่องสำอางไทยมีแนวโน้มจะเพิ่มปริมาณการจดทะเบียนตำรับสูตรมากขึ้น และมีผู้สนใจเป็นเจ้าของแบรนด์เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งชาวต่างชาติก็เชื่อมั่นในคุณภาพสินค้าประเภทเครื่องสำอางของไทย อีกทั้งการขอเลขที่จดแจ้งระบบเดิมจะใช้ระยะเวลานาน จึงส่งผลให้ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้พัฒนา ระบบเครื่องสำอาง เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบกรสามารถยื่นขอเลขจดแจ้งได้อย่างรวดเร็วเย็งขึ้น เนื่องด้วยการจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางผ่านระบบจดแจ้งอัตโนมัติ (E-submission) จะทำให้แนวโน้มเลขที่จดแจ้งเครื่องสำอางมีมากขึ้น ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป “เลขที่ใบรับจดแจ้ง จะเพิ่ม เป็น 13 หลัก ท่านสามารถใช้เลขที่ใบรับจดแจ้งนี้ได้ตามปกติ” นอกจากนี้ระบบยังมีการเพิ่มเติมรายละเอียดในส่วนผู้ว่าจ้างผลิต สำหรับเจ้าของแบรนด์สามารถจัดการเลขที่จดแจ้งได้ผ่านทางระบบนี้ด้วยเช่นกัน โดยผู้ผลิตและผู้ว่าจ้างผลิต จะต้องทำการเปิดใช้งาน Open ID เพื่อเข้าใช้งานระบบสารสนเทศของ สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา การสร้างบัญชีผู้ใช้งานและการกาหนดรหัสผ่าน สามารถดาเนินการได้ที่สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) 


รับขึ้นทะเบียนเลขที่จดแจ้งเครื่องสำอาง

การขึ้นทะเบียนขอเลขที่จดแจ้ง  มีค่าบริการในการขึ้นทะเบียนอัตราปกติอยู่ที่ 3,000 บาท/สูตร และอาจมีโปรโมชันส่วนลด พิเศษ สำหรับอัตราขึ้นทะเบียนขอเลขที่จดแจ้งสำหรับผลิตภัณฑ์ที่สั่งผลิตใหม่ โดยเรทอัตราส่วนลดเป็นไปตามที่ทาง Chris OEM กำหนด ท่านเจ้าของแบรนด์ กรณีที่สั่งผลิตเพื่อจำหน่ายสามารถขอขึ้นทะเบียนเลขที่จดแจ้งผลิตภัณฑ์ทุกสูตร โดยมีเงื่อนไขว่าผลิตภัณฑ์ที่ทำแบรนด์จะต้องมี ฉลาก ที่มีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง สมบูรณ์ และไม่ละเมิดข้อกำหนดกฎเกณฑ์ในการโฆษณา แนวทางโฆษณาเครื่องสำอาง ก.ย. 2559 โดยข้อมูลผู้จัดจำหน่ายบนฉลาก สามารถแสดงเป็น รายละเอียดผู้ว่าจ้างผลิต (เจ้าของแบรนด์) ได้โดยส่งเอกสาร และมอบอำนาจให้ Chris OEM เพื่อดำเนินการขอเลขจดแจ้งจัดจำหน่ายในนามผู้ว่าจ้างผลิตได้ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ท่านลงทะเบียนชื่อท่านเป็นเจ้าของแบรนด์อย่างถูกต้องโดยสมบูรณ์ แต่หากท่านเจ้าของแบรนด์เอกสารไม่พร้อมยื่นขึ้นทะเบียน สามารถให้โรงงานยื่นขอขึ้นทะเบียนจดแจ้ง แบบปกติโดยจะแสดงข้อมูลจำหน่ายโดย ในนามโรงงาน เพื่อให้ขายได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายไปก่อน เมื่อท่านเจ้าของแบรนด์เอกสารพร้อมสามารถขอขึ้นทะเบียนสูตรใหม่ภายหลังได้

เลขที่จดแจ้งคืออะไร?

เลขที่จดแจ้ง หรือ เลขที่ใบรับแจ้ง คือ เลขบนฉลากที่ บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์ (เครื่องสำอาง) ได้ดำเนินการจดแจ้งรายละเอียดการผลิตเพื่อขาย หรือนำเข้าเพื่อขาย หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย โดยบังคับให้แสดงข้อความที่จำเป็นต่อผู้บริโภค ได้แก่ ชื่อเครื่องสําอางและชื่อทางการค้าของเครื่องสําอาง ซึ่งต้องมีขนาดใหญ่กว่าข้อความอื่น ประเภทหรือชนิดของเครื่องสําอาง (เช่น หากเป็นสบู่ต้องแสดงคำว่าสบู่), ชื่อของสารทุกชนิด ที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสําอาง ต้องแสดงทั้งหมดเรียงลําดับปริมาณของสารจากมากไปหาน้อย, วิธีใช้เครื่องสําอาง , ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิต (กรณีผลิตในประเทศ) ชื่อและที่ตั้งของผู้นําเข้าและชื่อผู้ผลิต และประเทศที่ผลิต (กรณีนําเข้า), ปริมาณสุทธิ, เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต, วันเดือนปีที่ผลิต, วันเดือนปีที่หมดอายุ ที่เครื่องสําอางมีอายุการใช้งานน้อย กว่า 30 เดือน และ คําเตือนเกี่ยวกับอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัยของบุคคล และข้อมูลสุดท้ายที่สําคัญที่จะต้องแสดง “เลขที่ใบรับแจ้ง” เพราะเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งชี้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสําอางนั้น ได้มาแจ้งรายละเอียดตามข้อกําหนดการผลิตเพื่อขายหรือนําเข้าเพื่อขายนอกจากนี้สามารถใช้สืบค้นข้อมูลได้สะดวกยิ่งขึ้นกว่าการสืบค้นด้วยชื่อผลิตภัณฑ์หรือชื่อบริษัท อีกทั้ง จะเป็นประโยชน์ในการติดตามเฝ้าระวัง ร้องเรียน แจ้งเบาะแส เครื่องสําอางที่สงสัยว่าจะไม่ปลอดภัย

ขั้นตอนการเพิ่มข้อมูลผู้ว่าจ้างผลิตในเลขที่จดแจ้ง (ข้อมูล ปี 2560)

กรณีเพิ่มข้อมูลผู้ว่าจ้าง ทางโรงงานดำเนินการให้จะมีค่าธรรมเนียมปกติในการเข้าระบบผู้ว่าจ้างผลิต 3,000 บาท/สถานที่ อาจมีส่วนลดพิเศษบางช่วงเวลา โดยเรทอัตราส่วนลดเป็นไปตามที่ทาง Chris OEM กำหนด แต่อย่างไรก็ตามทั้ง 3 ขั้นตอนนี้ ท่านเจ้าของแบรนด์สามารถดำเนินการเองได้ที่คุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสาธารณสุขใกล้บ้านท่าน โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมในการเข้าระบบผู้ว่าจ้างผลิต
  1. กรณียังไม่มีรหัสประจำตัวผู้ประกอบการ หากมีรหัสประจำตัวผู้ประกอบการแล้วให้ข้ามขั้นตอนดังต่อไปนี้ 
    1. เอกสารทั่วไป 
      1. สำเนาบัตรประจำตัว
      2. สำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการ
      3. แผนที่ตั้งสถานประกอบการ
      4. แปลนภายในสถานที่สถานประกอบการ พร้อมภาพถ่ายจริงด้านหน้าสถานประกอบการ
      5. หนังสือมอบอำนาจ พร้อมลายเซ็นมอบอำนาจ (กรณีไม่ได้ดำเนินการด้วยตนเอง) 
    2. กรณีเป็นนิติบุคคล เพิ่มเติมเอกสารประเภทที่ตรงกับประเภทนิติบุคคล
      1. หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล (บริษัทมหาชนจำกัด)
      2. หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล (บริษัทจำกัด)
      3. หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนจำกัด)
      4. หนังสือจดทะเบียนสหกรณ์ หนังสือจดทะเบียนนิติบุคคล (ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล) 
    3. กรณีเป็นบุคคลธรรมดา เพิ่มเติมเอกสารสารทั้งหมดดังนี้
      1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
      2. หนังสือจดทะเบียนพาณิชย์ (รายละเอียดการจดทะเบียนพาณิชย์หัวข้อถัดไป)
      3. สำเนาทะเบียนบ้านสถานประกอบการ 
  2. ผู้ว่าจ้างผลิตสมัครเข้าใช้บริการระบบยืนยันตัวบุคคล Open ID ของสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ คู่มือการสมัคร Open ID
  3. เจ้าของแบรนด์ยื่นเอกสารเปิดสิทธิเข้าใช้ระบบการจดแจ้งเครื่องสำอางอัตโนมัติ (E-submission)
เมื่อทางฝั่งเจ้าของแบรนด์เข้าระบบผู้ประกอบการเรียบร้อยแล้ว ทางโรงงานจะสามารถเข้าระบบเพื่อเชื่อมโยงเพิ่มผู้ว่าจ้างผลิตเข้ากับโรงงาน พร้อมขึ้นทะเบียนขอเลขที่ใบรับแจ้งในนามท่านเจ้าของแบรนด์เป็นผู้ว่าจ้างผลิต

การจดทะเบียนพาณิชย์ 

(สำหรับบุคคลธรรมดา) สามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรุงเทพมหานคร, สำนักงานเขตทุกเขต, เทศบาล, องค์การบริหารส่วนตำบล และ เมืองพัทยา ในส่วนปกครองสถานที่ตั้งของท่าน โดยเตรียมข้อมูลใช้สำหรับจดทะเบียนดังนี้ 
  1. ชื่อร้าน ไทย-อังกฤษ
  2. สำเนาทะเบียนบ้านสถานที่ประกอบการ
  3. สำเนาบ้ตรประชาชน
  4. เตรียมกรอกเงินทุนที่ใช้ในการเริ่มกิจการ
  5. ค่าทำใบพาณิชย์ 50฿ 

FAQ?:

เลขที่ใบรับแจ้งบนฉลากเครื่องสำอาง แสดงถึงอะไร?

 = เลขที่ใบรับแจ้ง XX-X-XXXXXXX เป็นเลขที่ภาครัฐออกให้เมื่อผู้ประกอบการมาแจ้งรายละเอียดเครื่องสำอางกับ อย หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดที่สถานประกอบการตั้งอยู่ จะเป็นเลข 10 หลัก(ระบบเก่า) หรือเลขที่จดแจ้งระบบใหม่ 13 หลัก

นำเลขที่จดแจ้งมาใส่ในกรอบสัญลักษณ์อย. ได้หรือไม่ ?

= ห้ามนําเลขที่ใบรับแจ้งมาใส่ในกรอบเครื่องหมาย อย. เพราะ อาจทําให้ผู้บริโภคเกิดความเข้าใจผิดว่า ผลิตภัณฑ์นั้นเป็นเครื่องสําอางควบคุมพิเศษ ที่ผ่านการขึ้นทะเบียน ตํารับแล้ว ซึ่งอาจเป็นความผิดตามกฎหมาย

เครื่องสำอางที่มีเลขที่จดแจ้งแล้วนั้น แปลว่าผ่านการตรวจสอบจาก อย. แล้วว่าไม่มีสารอันตราย ใช้แล้วจะไม่เกิดอาการแพ้ใช่หรือไม่ ?

= ไม่ใช่ เพราะในการจดแจ้งเครื่องสำอางนั้นเป็นการชี้แจงรายละเอียดส่วนผสมในเครื่องสำอางเท่านั้น ว่าไม่ใช่สารอันตรายหรือใส่ในปริมาณที่ไม่อันตราย หากในสูตรไม่มีสารต้องห้ามจาก อย. และใส่สารควบคุมที่ไม่เกินปริมาณ ก็สามารถขึ้นทะเบียนได้ ซึ่งอย.ได้


การเลือกซื้อเครื่องสำอางให้ปลอดภัย ทำอย่างไร? 

= วิธีการเลือกซื้อเครื่องสำอางให้ปลอดภัย มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • ซื้อเครื่องสำอางจากร้านค้าที่มีหลักแหล่งแน่นอน เชื่อถือได้ เพราะหากเกิดปัญหาสามารถติดต่อผู้รับผิดชอบได้ 
  • ซื้อเครื่องสำอางที่มีฉลากภาษาไทย โดยระบุข้อความที่จำเป็นอย่างครบถ้วน ชัดเจน ได้แก่ ชื่อและชนิดของเครื่องสำอาง เลขที่ใบรับแจ้ง สารที่ใช้เป็นส่วนผสม วิธีการใช้ ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือนำเข้า ปริมาณสุทธิ เลขที่แสดงครั้งที่ผลิต เดือนปีที่ผลิต เลขที่ใบรับแจ้ง และคำเตือน (ถ้ามี) 
  • ซื้อเครื่องสำอางที่มีภาชนะบรรจุหีบห่ออยู่ในสภาพดีไม่แตกรั่ว และมีการเก็บรักษาอย่างดี ไม่อยู่ในที่ร้อนชื้นหรือโดนแสงแดด 
  • อย่าหลงเชื่อคำโฆษณาที่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริง 

ข้อแนะนำในการเลือกใช้เครื่องสำอางอย่างไร เพื่อให้เกิดความปลอกภัย 


= ข้อแนะนำในการเลือกใช้เครื่องสำอาง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • อ่านฉลากผลิตภัณฑ์ให้ละเอียด โดยเฉพาะวิธีใช้และคำเตือน 
  • ควรมีการทดสอบการแพ้ก่อนใช้ โดยการทาเครื่องสำอางในปริมาณเล็กน้อย ที่บริเวณท้องแขนแล้วทิ้งไว้ 24-48 ชั่วโมง หากไม่มีความผิดปกติแสดงว่าสามารถใช้ได้ แต่หากใช้แล้วผิดปกติ ให้หยุดใช้ทันที 
  • อย่าแบ่งปันหรือใช้เครื่องสำอางร่วมกับผู้อื่น เพราะอาจเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรค 
  • หากใช้เครื่องสำอางใดแล้ว มีความผิดปกติเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ครั้งแรก หรือใช้มานานแล้วก็ตาม ต้องหยุดใช้ทันที และรีบไปพบแพทย์ 


หากเกิดข้อสงสัยเกี่ยวกับเลขที่จดแจ้ง ติดต่อสอบถามข้อมูลได้จากที่ใด ?

= กลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง โทร. 0 2590 7441


สงวนลิขสิทธิ์โดย คริส โออีเอ็ม 2015-2020 เนื้อหาทั้งหมดในเวบไซต์ ยกเว้นจากตำราหรือมีอ้างอิงอื่น เป็นลิขสิทธิ์ของ Chris.in.th