วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

การคิดค้นสูตรตำรับสบู่

การคิดค้นสูตรตำรับสบู่

ควรคำนึงถึงความปลอดภัยมาอันดับแรก Chris OEM ไม่รับผลิตสบู่ที่มีอัตราส่วนที่อันตรายจนเกินไป หรือ การใส่สารที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจำพวกสารต้องห้าม และเพื่อการได้รับยอดขายอย่างต่อเนื่อง นักพัฒนาสูตรตำรับควรคำนึงถึงรูปลักษณ์ สี กลิ่น และ จุดขายของสรรพคุณ

Chris OEM ได้แบ่งประเภทของการคิดค้นสูตรตำรับสบู่ ไว้ดังนี้

  1. การคำนึงถึงงบประมาณที่กำหนดเพราะการทำแบรนด์ไม่ได้มีงบประมาณแค่การสั่งสบู่ แต่รวมไปถึงการบริหาร การจัดการ การตลาดด้วย อันได้แก่ ราคาสบู่ แพ็คเกจ ถุงบรรจุสบู่ภายใน ถุงแพ็คบรรจุภายนอก ค่าบล็อค รูปทรงสบู่/ตราปั้ม ค่าขอเลขที่ใบรับแจ้ง อย. ค่าจัดส่ง ค่าส่งเสริมการตลาด และอื่นๆ
  2. กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้ ปัจจุบัน การทำแบรนด์ ไม่นิยมออกแบบสูตรสำหรับผู้ใช้ทั่วไปทุกเพศทุกวัย (Mass Product) เนื่องจากกลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่ Red Ocean ซึ่งการสร้างแบรนด์ควรออกแบบผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่มลูกค้า (Niche Product) ออกแบบผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใช้สำหรับปัญหาเพียงเฉพาะด้านโดยเน้นสรรพคุณเพียงอย่างเดียวหรือสรรพคุณเพียงไม่กี่อย่าง เช่น
    • สบู่สำหรับผิวหน้า ลดปัญหาสิว
    • สบู่สำหรับลดผิวหมองคล้ำ ช่วยให้ผิวกระจ่างใส
    • สบู่อาบสะอาด ลดกลิ่นกาย
    • สบู่ที่ประกอบด้วยสมุนไพรแก้คัน แก้แพ้
    • สบู่สำหรับจุดซ่อนเร้นผู้หญิง
    • สบู่สำหรับจุดซ่อนเร้นผู้ชาย
    • สบู่สำหรับบำรุงเท้า
    • และการคิดค้นผลิตภัณฑ์เพื่อแก้ปัญหาสำหรับลูกค้ากลุ่มอื่นๆ เป็นต้น
  3. ประเภทของสบู่ โรงงาน Chris OEM แบ่งเป็น 2 หมวดหมู่หลักคือ
    1. สบู่ธรรมชาติ
      คือ สบู่ที่เกิดจากสารตั้งต้น เบส + น้ำมัน + น้ำ  ผสมกันเกิดเป็นสบู่ตามธรรมชาติ อาบสะอาด ฟองที่ได้มีฟองมากเป็นพิเศษ ลักษณะฟองขึ้นอยู่กับน้ำมันแต่ละชนิดเพราะให้ฟองได้ต่างกัน สารตั้งต้นที่กล่าวมานี้ มาจากธรรมชาติ 100% ต่อมาได้มีการประยุกต์นำสารกลุ่ม Active และ สารในกลุ่มTexture มาผสม เป็นสูตรตำรับต่างๆ
      1. สูตรอ่อน เหมาะกับผิวหน้า
      2. สูตรปกติ เหมาะกับผิวหน้าและผิวกาย
    2. สบู่กลีเซอรีน
      คือ สบู่ที่มีความอ่อนโยน ประกอบด้วยกลีเซอรีนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการช่วยให้มีความชุ่มชื้น เหมาะสำหรับใช้กับใบหน้าหรือบุคคลที่ผิวแห้ง ผิวแพ้ง่าย และเติมสารที่ช่วยลดแรงตึงผิวช่วยทำความสะอาดและทำให้เกิดฟอง
      1. สบู่กลีเซอรีนขุ่น
      2. สบู่กลีเซอรีนใส
  4. สารละลายและตัวทำละลาย
    1. สารละลายน้ำ ได้แก่ NaOH, สีผสมสบู่กลีเซอรีน, สารสกัดละลายน้ำ ฯ
    2. สารละลายน้ำมัน ได้แก่ น้ำมัน, สีผสมสบู่, น้ำหอม, กลีเซอรีน สารสกัดละลายน้ำมันฯ 
  5. ส่วนประกอบ
    1. สารตั้งต้น ได้แก่
      1. สบู่ธรรมชาติ ได้แก่ น้ำมัน น้ำ NaOH เป็นต้น
      2. สบู่กลีเซอรีน ได้แก่ น้ำ กลีเซอรีน สารลดแรงตึงผิว เป็นต้น
    2. สารออกฤทธิ์ หรือ สารกลุ่ม Active
      1. แบ่งตามประเภท
        1. ผงเคมีเครื่องสำอาง
        2. สารสกัดสมุนไพร
        3. ผงสมุนไพรอบแห้ง
      2. แบ่งตามสรรพคุณ
        1. ให้ความชุ่มชื้น
        2. ลดสิว
        3. ช่วยให้ผิวพรรณขาวกระจ่างใส
        4. ช่วยแก้ผดผื่นคัน
    3. สารกลุ่มแสดงผลเนื้อสบู่ หรือ สารกลุ่ม Texture
      1. น้ำหอม
        • โดยปกติโรงงานเราให้น้ำหอมมาฟรี หลายชนิด หากต้องการน้ำหอมกลิ่นอื่นๆเพิ่มเติมสามารถแจ้งชื่อกลิ่นให้โรงงานทราบได้
        • การใส่น้ำหอมในปริมาณมาก ลงในสบู่ธรรมชาติ จะทำให้สบู่แข็งตัวเร็วเกินไป เนื่องจากสบู่ของโรงงานเราเป็นสบู่ที่ผลิตด้วยกระบวนการธรรมชาติ Handmade เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการปฏิกิริยา (สบู่เซ็ทตัว) กลิ่นน้ำหอมสบู่จะไม่แสดงออกแรงมาก เท่าน้ำหอมสบู่โรงงานอุตสาหกรรม
      2. สี 
        • การกำหนดสีควรขึ้นอยู่กับสารสกัดที่เลือกด้วย เช่นหากสารสกัดมีสีส้ม แล้วเราเติมสีที่แตกต่างลงไป อาจได้สีใหม่ที่เป็นการผสมกันของทั้งสองสี
      3. เมือกหอยทาก
        • Texture เมือกหอยทาก เหมาะสำหรับสบู่กลีเซอรีนเนื้อขาวขุ่น
      4. กริทเตอร์ ผงทอง
        • Texture ผงทอง เหมาะสำหรับสบู่กลีเซอรีนเนื้อโทนเหลือง-ใส
  6. การเลือกสารออกฤทธิ์
    1. สารออกฤทธิ์ที่ส่งเสริม - หักล้างกัน
      1. ส่งเสริมกัน อาจดูได้จากสรรพคุณเป็นหลักเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ขมิ้น-ว่านนางคำ, 
      2. หักล้างกัน สารสกัดที่มีความต่างไปในทางตรงกันข้ามกัน อาจส่งผลให้คุณภาพสบู่ หรือ เนื้อสบู่มีลักษณะเปลี่ยนแปลงแบ่งชั้นได้ เช่น กรด-เบส, แห้ง-ชุ่มชื้น, AHA
    2. ผงถ่านไม้ไผ่ จะทำให้สบู่ทั้งก้อนเป็นสีดำ
    3. ไม่ควรเลือกสูตร ดังนี้
      • ใส่วัตถุดิบที่เป็นสารละลายน้ำมัน ลงในสบู่กลีเซอรีน อาจทำให้สบู่ลอยตัวได้ เช่น สบู่กลีเซอรีนน้ำมันมะพร้าว, สบู่กลีเซอรีนน้ำมันมะกอก เป็นต้น
    4. ฉลาก และ สรรพคุณ ทุกครั้งที่มีการสร้างแบรนด์ใหม่จะต้องแจ้งให้เจ้าของแบรนด์ทราบถึงการเขียนฉลากที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในภายภาคหน้า
      1. ส่วนประกอบฉลาก จะต้องมีข้อมูลดังต่อไปนี้
        • ส่วนประกอบบังคับในฉลาก ชื่อแบรนด์, ชื่อสูตร, ประเภทเครื่องสำอาง, วิธีใช้, คำเตือน, เลขที่จดแจ้ง, วันที่ผลิต, วันที่หมดอายุ, ครั้งที่ผลิต
        • การตั้งชื่อแบรนด์และชื่อสูตรตำรับ คลิกอ่าน
      2. สรรพคุณ ไม่มีบังคับให้ใส่ แต่สามารถใส่เพิ่มเติมลงในฉลากได้และต้องไม่ควรเกินขอบเขตคำจำกัดของ "เครื่องสำอาง" 
        • ไม่มีข้อความ/ภาพ ในเชิงการรักษา การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผิว
        • กรณีมีสารไวท์เทนนิ่ง 
          • สามารถตั้งชื่อสูตรให้มีคำว่า Whitening ได้ หากไม่มีสารไวท์เทนนิ่งจะไม่สามารถตั้งชื่อสูตรที่มีคำดังกล่าวได้
          • สามารถเติมสรรพคุณได้ว่า ช่วยทำให้ผิวกระจ่างใส เท่านั้น
            ไม่ควรนิยามว่า ช่วยทำให้ผิวขาวฯ
        • สบู่ของสามารถเติมข้อความในช่องสรรพคุณ อาบสะอาด ช่วยให้ผิวนุ่มชุ่มชื้น และ ช่วยให้ผิวพรรณแลดูกระจ่างใสได้
      3. อย่างไรก็ตามขอให้ Agent รักษาผลประโยชน์ของทางเจ้าของแบรนด์ (Owner) ทางโรงงานถือว่าได้แจ้งทาง Agent เกี่ยวกับฉลากและสรรพคุณที่ถูกต้องแล้ว หากเกิดปัญหาจะไม่รับผิดชอบต่อความผิดพลาดในกรณีที่แสดงข้อมูลฉลากไม่ถูกต้อง
      4. การหาความรู้เสมอ
        อย่างไรก็ตาม เพื่อไม่ให้เป็นเนื้อหาที่มากจนเกินไป ทางโรงงานอยากให้นักออกแบบสูตรทุกท่านหาความรู้อยู่เสมอ และจับกระแสนวัตกรรมด้านความงาม เพื่อไม่ให้พลาดโอกาสในการพัฒนาสูตรของท่าน เมื่อได้ออกแบบสูตรส่งมา ทางโรงงานจะทำการกรองและตรวจสอบความปลอดภัยของสูตรอีกครั้งก่อนการผลิตจริง

      ไม่มีความคิดเห็น: